เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

กลุ่ม Echinopsis

กลุ่ม Echinopsis

กลุ่ม Echinopsis มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่ลำต้นมีขนาดเล็กกว่า ดอกมีลักษณะเป็นหลอด และผิวด้านนอกของดอกมักมีขนหรือเกล็ดสั้นๆ ปกคลุมอยู่

แคคตัสกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหลายสกุลด้วยกันได้แก่ Acanthocalycium , Arequipa , Arthrocereus , Borzicactus , Cephalocleistocactus , Chamaecereus , Cleistocactus , Denmoza , Echinopsis , Espostoa , Haageocereus , Hildewintera , Lobivia , Matuacana , Mila , Oreocereus , Oroya , Rebutia , Soehrensai , Sulcorebutia , Thrizanthocereus , Weberbauerocereus และ Weingartia

การจำแนกสายพันธุ์ของแคคตัส

cactus 5

การจำแนกสายพันธุ์ของแคคตัสเป็นกลุ่ม

แคคตัสจัดเป็นพืชในวงศ์ Cactaceae มีอยู่ทั่วโลกทั้งสิ้น 50-150 สกุลด้วยกัน หรือประมาณ 2,000 ชนิด ซึ่งแบ่งตามวิธีของ Gordon Rowley (หนังสือ The Illustrated Encyclopaedia of Succulents) ได้เป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้

  • กลุ่ม Ario Carpus
  • กลุ่ม Astrophytum
  • กลุ่ม Cereus
  • กลุ่ม Echinocactus
  • กลุ่ม Echinocereus
  • กลุ่ม Echinopsis
  • กลุ่ม Epiphyllum
  • กลุ่ม Hylocereus
  • กลุ่ม Lobivia
  • กลุ่ม Mammillaria
  • กลุ่ม Melocactus
  • กลุ่ม Neopoteria
  • กลุ่ม Opuntia
  • กลุ่ม Pereskia
  • กลุ่ม Pilocereus
  • กลุ่ม Rebutia

ภาชนะปลูกแคคตัส

ภาชนะปลูกแคคตัส ในปัจจุบันนี้กระถางดินเหนียวยังคงได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะน้ำซึมผ่านได้เร็ว จึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาการให้น้ำมากเกินจนต้นตาย แต่ข้อเสียของกระถางชนิดนี้ก็มีอยู่บ้าง นั่นคือ กระถางดินเหนียว มีรูพรุน น้ำจึงระเหยออกด้านข้างกระถางได้เรื่อยๆ ทำให้อาหารในดินสูญเสียไป จะสังเกตได้ว่าถ้าปลูกแคคตัสต้นเล็กๆ ในกระถางนี้ ต้นที่อยู่ในบริเวณกลางกระถางจะมีลักษณะแคระแกร็น ปัญหาการระเหยของน้ำนี้อาจแก้โดยการฝังกระถางบางส่วนไว้ใต้ทราย กรวด หรือถ่านพีท แต่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกก็คือ รากจะงอกทะลุรูที่ฐานกระถางลงสู้พื้นดินได้

ส่วนกระถางพลาสติกนั้นจะไม่ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นไปตามผิวกระถางเหมือนกระถางดินเหนียว เพราะน้ำจะระบายออกทางรูที่ฐานเท่านั้น นอกจากนี้กระถางพลาสติกยังมีน้ำหนักเบา และไม่มีตะไคร่ขึ้นตามผิวกระถางด้วย แต่ปัญหาในการใช้กระถางพลาสติกนั้นก็คือ ถ้าใช้ในที่มีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนเป็นเวลา 2-3 ปี กระถางกรอบจะเริ่มแตก ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมกับกระถางชนิดนี้มากที่สุด คือ บริเวณในร่มและตามขอบหน้าต่าง

วิธีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมและสามารถใช้ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การปลูกเป็นแนวยกชั้น (staging beds) โดยแต่ละชั้นจะมีความลึกประมาณ 5-6 นิ้ว และปูรองด้วยแผ่นพลาสติก โดยอาจจะมีหรือไม่มีรูระบายน้ำก็ได้ นอกจากนี้การเลือกประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำกระถางปลูกแล้ว ขนาดของกระถางก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกกระถางให้มีความเหมาะสมกับต้น โดยพิจารณาจากเนื้อที่ว่างระหว่างผิวต้นกับขอบกระถาง หากเหลือเนื้อที่น้อยกว่า 1 นิ้ว แสดงว่าแคคตัสมีขนาดโตเกินไปสำหรับกระถาง ควรเปลี่ยนใหม่ ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม แต่ทั้งนี้ไม่ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้ต้นโตช้า เนื่องจากวัสดุปลูกอุ้มน้ำมากเกินไปและบางครั้งอาจทำให้รากเน่าตายได้

แบบกระถางที่เลือกใช้ควรมีลักษณะที่เหมาะสมกับรูปทรงต้น หรือพันธุ์ที่นำมาปลูก ถ้าเป็นพันธุ์ต้นเตี้ยหรือทรงกลม ควรปลูกในกระถางที่ค่อนข้างกลมหรือสี่เหลี่ยมมนๆ ก้นกระถางไม่ควรสอบเข้าแบบถ้วยจอก และไม่ควรเป็นแบบกระถางทรงสูงเกินไป แต่ถ้าหากเป็นพันธุ์ที่เป็นเหลี่ยมทรงสูง ก็สามารถปลูกในกระถางที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือกระถางทรงกลมได้

การจับต้นลงปลูกในกระถางให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือเศษผ้าจับลำต้นเพื่อป้องกันหนามตำมือ โรยดินผสมรอบๆ ต้น ใช้ไม้เล็กๆ กดดินให้แน่นพอประมาณ ตกแต่งหน้าดินให้เรียบก่อนโรยหินแต่งหน้าให้เสมอขอบกระถาง

การเปลี่ยนกระถางปลูกทำได้โดยใช้ผ้าหรือกระดาษหุ้มรอบต้น เพื่อป้องกันอันตรายจากหนามและเพื่อไม่ให้ต้นกระทบกระเทือน เคาะกระถางเบาๆ ให้ต้นหลุดออกมา แล้วนำไปปลูกในกระถางใหม่ต่อไป

สกุล Copiapoa

Copiapoa

สกุล Copiapoa แคคตัสในกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิดและมีอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Copiapoa มาจากชื่อของเมืองโคเปียในประเทศชีลี แคคตัสสกุลนี้มีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งต้นขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 2-3 เซนติเมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่สูงกว่า 1 เมตร บ้างก็ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ บ้างก็ขึ้นรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ขนาดใหญ่ สีของต้นมีทั้งสีเทา สีฟ้าอมเทา จนไปถึงสีเขียว ตุ่มหนามมักมีขนาดใหญ่ เป็นรูปไข่และมีขนขึ้นปกคลุมเป็นปุยนุ่ม หนามก็มีลักษณะแตกต่างกันหลายประเภท แม้แต่ในชนิดเดียวกันหนามก็อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันได้ และมักจะไม่สามารถแยกหนามกลางและหนามข้างออกจากกันได้อย่างชัดเจนนัก แต่ก็พอจะแยกได้ว่าหนามข้างจะมีประมาณ 1-13 อัน ส่วนหนามกลางอาจจะมีถึง 20 อันหรือมไ่ม่มีก็เลย ชนิดที่มีต้นขนาดเล็ก มักมีหนามเล็กละเอียด ชนิดที่มีขนาดใหญ่หนามก็จะแข็งแรงและยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร หนามอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือโค้งงอ มีหลายสีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลแดง จนถึงสี ดำ

ดอกส่วนใหญ่อยู่ในเฉดสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5 เซนติเมตร เกิดในบริเวณปุยนุ่มที่ยอดต้น ผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดเล็ก มีสีเทาจนถึงสีออกเหลือง เมื่อผลสุกจะแตกออกแคคตัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเหนือของชิลี พบมากในบริเวณแห้งแล้งกันดาร เพาะด้วยเมล็ดได้ง่าย แต่ชนิดที่มีทรงต้นขนาดใหญ่มักงอกเป็นต้นช้า ส่วนชนิดที่มีขนาดเล็กสามารถเจริญเติบโตและออกดอกได้ในเวลา 2-3 ปี แคคตัสกลุ่มนี้ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดและทนต่อสภาพอากาศเย็นได้เป็นอย่างดี

แสงแดดและอุณหภูมิ

แคคตัสบางพันธุ์สามารถปลูกในอาคารได้ดี แต่บางพันธุ์ก็ต้องการแสงแดดมาก ช่วงแสงที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้นควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ที่แดดไม่ร้อนจนเกินไปนัก ควรจัดวางภาชนะปลูกแคคตัสไว้ริมหน้าต่างที่แสงแดดสามารถส่องถึงได้ในตอนเช้า หรือถ้าหากตั้งไว้ในที่มีไม่มีแสงแดดเลย ก็ควรนำออกไปตากแดดริมหน้าต่างบ้าง เพียงวันละ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ตามแต่ความเหมาะสม และการดูแล

ต้นแคคตัสที่ได้รับแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี สีสันของหนามและของต้นจะสวยงาม แต่ถ้าหากได้รับแสงแดดจนมากเกินไปจะทำให้ต้นแห้ง เป็นสีน้ำตาล ดังนั้น ควรให้ร่มเงาหรือพรางแสงให้กับสถานที่เลี้ยงแคคตัสด้วย โดยให้เหลือแสงประมาณ 70-80 เปอร์เซน ก็พอแล้ว

สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้ แคคตัสส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน บางชนิดอยู่ได้ในทะเลทรายดังนั้น ในประเทศไทยซึ่งมีอากาศค่อนข้างร้อน จึงเหมาะสมสามารถปลูกเลี้ยงแคคตัสได้ดีเกือบทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรือนที่อุณหภูมิประมาณ 27-32 องศาเซลเซียส หรือในช่วงเดือนเมษายนที่มีอุณหภูมิถึง 38 องศาเซลเซียสก็ตาม สำหรับในช่วงฤดูหนาวนั้น ถ้าเป็นแคคตัสที่พึ่งตัดชำก็จะทำให้ออกรากช้า หรือถ้าเป็นต้นที่อยู่ตัวดีแล้วก็อาจจะทำให้เจริญเติบโตช้าลงไปบ้างเท่านั้น