เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

สกุล Dolichothle

Dolichothle

สกุล Dolichothle แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ทั้งหมด 10 ชนิด ชื่อสกุล Dolichothle มาจากภาษากรีก หมายถึง เนินหนาม หรือลักษระที่ยาวยื่นออกมา ต้นมักมีขนาดเล็กแคระ ขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต้นเดี่ยวๆ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยเนินหนามยาวนุ่มสีขาว ซอกเนินหนามม้วนสั้นเป็นปุยนุ่ม ที่ยอดเนินหนามประกอบด้วยตุ่มหนามซึ่งมีหนามกลางมากถึง 10 อัน ส่วนในบริเวณอื่นจะมีหนามกลางประมาณ 4-5 อัน แต่บางชนิดก็ไม่มีเลย บางชนิดก็อาจมีหนามกลางเพียง 1 อัน และมีปลายงอเป็นตะขอ หนามเปราะหักง่าย ยาวประมาณ 1.25-2.5 เซนติเมตร มีสีขาว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดอกมีกลิ่นหอม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7.5 เซนติเมตร มักอยู่ในโทนสีเหลือง ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเขียวถึงสีเขียวอมแดง

แคคตัสสกุล Dolichothle มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบเม็กซิโก และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา ขยายพันธุ์ได้ทั้งเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ และในบางชนิดหน่อใหม่ที่แตกออกมาจากต้นเก่าจะมีรากติดมาด้วย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีร่มเงา เลี้ยงง่าย แต่ในช่วงที่มีอากศหนาวเย็นไม่จำเป็นต้องให้น้ำมากจนเกินไป

สกุล Aztekium

Aztekium

สกุล Aztekium สกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Aztekium ritteri ชื่อสกุล Aztekium ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ The AZtek Race สกุลนี้มีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเกิดการแตกเป็นต้นเล็กๆ ออกมาและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหัวเดี่ยวๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร มีสันต้นประมาณ 11 สัน ลักษณะเป็นรอยย่นซ้อนทับกันอยู่ในแต่ละกลีบ สีของต้นมีตั้งแต่สีเขียวจนไปถึงสีเขียวออกเทา บริเวณ ตอนกลางด้านบนของต้นปกคลุมด้วยปุยนุ่มสีขาว ตุ่มหนามมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยหนามอ่อนขนาดเล็ก 3 อัน

ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมีสีชมพู เกิดได้ทุกบริเวณของต้น ผลมีลักษณะคล้ายผลเบอรี่ มีขนาดเล็ก สีชมพู ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปบนปุยสีขาวตอนบนของต้น เมื่อผลแก่เต็มที่จะแห้งและแตกออก เมล็ดมีขนาดเล็กมาก

แคคตัสสกุล Aztekium มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของเม็กซิโก มักขึ้นอยู่บริเวณหน้าผาสูงชันหรือตามซอกเขา ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้งขยายพันธุ์โดยการแยกต้นและการเพาะเมล็ด แต่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษในช่วงเพาะ ส่วนต้นเมื่ออยู่ในระยะพร้อมออกดอกนั้น ควรใช้ดินผสมในการปลูก เพราะจะช่วยในการระบายน้ำได้ดี ในช่วงฤดูหนาวถ้าหากงดการให้น้ำ แคคตัสสกุลนี้สามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ถึง 5 องศาเซลเชียส

สกุล Corypantha

Corypantha

สกุล Corypantha แคคตัสในกลุ่มนี้ประกอบดไปด้วย 70 ชนิดและหลายสายพันธุ์ ชื่อ Corypantha มาจากภาษากรีก หมายถึง “ยอด” และ “ดอก” รวมแล้วหมายถึง ตำแหน่งการออกดอกบนต้น ทรงต้นมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่และเล็ก ทรงกระบอก ทรงแท่งเล็ก ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาจพบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ กลุ่มที่มีอายุหลายปีอาจจะมีอยู่รวมกันถึง 50 หัวหรืออาจจะมากกว่านั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวถึง 65 เซนติเมตร เช่น Corypantha recurvata ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของรัฐอริโซนา พบว่ามีถึง 200 หัว ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ประกอบด้วยหนาม 30 อัน ในลักษณะกระจาย หนามยาว 2.5 เซนติเมตร และมีหนามกลาง 4 อัน ซึ่งบางอันมีรูปร่างคล้ายตะขอ

ดอกมีลักษณะทรงกรวย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25-5 เซนติเมตร มีสีสันมากมายหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีชมพู สีส้มจนไปถึงสีม่วงแดง บางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยักเล็กๆ ที่ปลายกลีบ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวถึ 5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวจนถึงโทนสีแดง

แคคตัสสกุล Corypantha นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายแห่ง ทั้งทางเหนือสุดของรัฐอัลเบอร์ต้าในแคนาดา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา และในเม็กซิโก พบได้ที่ระดับความสูง 2,000 เมตร บางชนิด เช่น Corypantha vivipara นั้น พบได้ในหลายสภาพพื้นที่ เช่น ทางตอนเหนือที่อากาศหนาวของรัฐอัลเบอร์ต้าในเขตทุ่งหญ้า และบริเวณป่า

แคคตะสในสกุลนี้ปลูกเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้ทั้งเพาะเมล็ดและตัดแยก บางครั้งก็พบวาหัวที่งอกใหม่นั้นมักมีรากงอกติดอยู่ด้วย ในฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก แต่ถ้างดให้น้ำในฤดูหนาวจะช่วยให้ทนต่ออุณหภูมิต่ำได้

สกุล Lophocereus

Lophocereus

ชื่อสกุล Lophocereus มาจากคำว่า lophos ซึ่งหมายถึง ยอดของต้นที่ประกอบไปด้วยขนสั้นและแข็ง ต้นมีลักษณะทรงกระบอก สีเขียวสด เป็นมัน แตกกิ่งก้านได้อย่างอิสระ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร และสามารถสูงได้ถึง 10 เมตร ลำตันเป็นเป็นสัน มีประมาณ 5-15 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลม ซึ่งตุ่มหนามบริเวณตอนบนของต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วพร้อมออกดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าต้นที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ตุ่มหนามประกอบไปด้วยหนามข้าง 5-10 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีหนามกลาง 1-5 อัน แต่สำหรับต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบไปด้วยหามสั้นและแข็ง ประมาณ 25-50 อัน ซึ่งสามารถยาวได้ถึง 2.5-6 เซนติเมตร

ดอกมีลักษณะทรงกรวย สีขาวหรือสีชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะทรงกลม เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 เซนติเมตร

แคคตัสสกุล Lophocereus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ขยายพันธุ์ได้ง่ายทั้งโดยการเพาะเมล้ดและปักชำ ถ้าเพาะต้นจากเมล็ดจะใช้เวลา 6-7 ปี ต้นถึงจะออกดอกได้ แคคตัสในสกุลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทีมีระบบระบายน้ำดี และมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์

กลุ่ม Hylocereus

กลุ่ม Hylocereus

กลุ่ม Hylocereus แคคตัสกลุ่มนี้เป็นชนิดเลื่อย มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่จัดเป็นพืชพวก epiphytic (พืชที่ดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยพืชอื่น แต่ไม่ทำอันตรายหรือแย่งอาหารพืชที่อาศัยอยู่) มีระบบรากอากาศ (aerial roots) เป็นพืชที่ต้องการแสงและอุณหภูมิสูง ลำต้นของแคคตัสกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นสัน หนามค่อนข้างอ่อนแอ ดอกออกในฤดูร้อน ดอกมีสีขาว แดง และชมพู

แคคตัสกลุ่มนี้มีอยู่มากมายหลายสกุล ได้แก่ Aporocactus , Crytocereus , Deamia, Disocactus , Epiphyllum , Heliocereus , Hylocereus , Mediocactus , Nopalxochia , Pfeiffera , Rhipsalidopsis , Rhipsalis , Schenicereus , Weberocereus , Wittia และ Zygocactus มีหลายสายพันธุ์ เช่น Hylocereus minutiflorus , Hylocereus undatus (Queen of night) เป็นต้น