เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

สกุล Echinofossulocactus

Echinofossulocactus

สกุล Echinofossulocactus แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ชื่อสกุล Echinofossulocactus มาจากภาษากรีก และภาษาละติน หมายถึง เม่น และ รอยบาก แต่เดิมสกุลนี้ รู้จักกันในชื่อว่า Stenocactus ลักษณะเป็นทรงกลมถึงทรงกระบอก บางชนิดจะมีการแตกกิ่งด้านอย่างอิสระรอบๆ โคนต้น แคคตัสในสกุลนี้จำแนกค่อนข้างยาก เพราะมีหลากหลายรูปแบบ บางชนิดลำต้นเป็นสันถึง 100 สัน และมีลักษณะเป็นคลื่นบางชนิดก็มีหนามหนาแน่นมากจนไม่สามารถมองเห็นสันลำต้นได้ ตุ่มหนามมีขนาดเล็ก อาจอยู่ติดกันหรือห่างกันได้ถึง 4 เซนติเมตร หนามข้างมีขนาดเล็ก คล้ายเข็ม แต่แข็งแรงมาก มีอยู่ประมาณ 4-20 อัน หนามกลาง 1-4 อัน เช่น Echinofossulocactus lancifer มีหนามที่แข็งแรงมาก ยาวถึ 2.5 เซนติเมตร หนามกลางจะแข็งแรงกว่าหนามข้าง สีหนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง จนถึงสีน้ำตาล ในบางชนิดหนามกลางจะมีลักษณะอ้วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล สีน้ำตาลแดง หรือสีดำ ยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร

ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น สีขาว สีครีม สีม่วงแดง กลีบดอกจะมีเส้นสีเข็มตลอด ความยาวกลีบ ผลมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีเขียวออกแดงหรือสีน้ำตาลและจะแตกออก

แคคตัสสกุล Echinofossulocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ ทั้งในทุ่งหญ้าและตามซอกหิน ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการเพาะเมล็ด บางชนิดสามารถออกดอกได้ตั้งแต่อายุ 2-3 ปี ในช่วงปลายฤดูหนาวและต้นฤดูร้อนจะต้องการน้ำมาก ถ้างดให้น้ำจะสามารถต่ออุณหภูมิต่ำได้ดีในฤดูหนาว

โรคจากแมลง

แมลงเป็นศัตรูพืชของแคคตัสมักจะมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก เพราะมักจะซ่อนตัวอยู่ระหว่างรอยต่อของหัวย่อยบริเวณตาดอกซอกเนินหนาม หรือในดินปลูก ผู้เลี้ยงจึงควรตรวจดูบริเวณดังกล่าวให้ละเอียดและมากเป็นพิเศษ หากพบว่าแคคตัสมีอาการผิดปกติซึ่งเกิดจากแมลงศัตรูพืชก็ควรแยกต้นนั้นออกไปทันที เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด

แมลงศัตรูพืชของแคคตัสที่พบมากที่สุด ได้แก่
1. เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของแคคตัส มีลักษณะคล้ายกับปุยสำลีสีขาวและมีตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งอยู่ภายในตามปกติจะอยู่รวมกันในพื้นที่ที่ค้นหายาก เช่น รอบๆ ฐานของตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น บริเวณเหนือผิวดิน และราก เพลี้ยแป้งอาจมีผลทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต อาจแก้ไขได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน (malathion) ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลงประเภทลอกาโนฟอสเฟต มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ มีพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยงค่อนข้างต่ำ หรือพวกไพรีทรายด์ (pyrethroid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนได้ดี แต่มีพิษต่อคนและสัตว์ต่ำเช่นกัน บางครั้งอาจพบว่าเมื่อใช้ยาฆ่าแมลงแล้วยังมีเพลี้ยแป้งอยู่ โดยเฉพาะเมื่อย้ายหรือเปลี่ยนกระถาง หรือบางครั้งอาจเกิดเป็นกลุ่มสีเทารอบๆ ราก สามารถกำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงและควรใช้ซ้ำอีกครั้งหลังการใช้ยาครั้งแรกประมาณ 5-10 วัน

2. เพลี้ยอ่อน (aphids) มีลักษณะลำตัวอ่อนนุ่ม สีเขียวคล้ำ มักอาศัยอยู่ตามตาดอก เพลี้ยอ่อนมีผลทำให้ต้นแคคตัสเจริญเติบโตผิดรูปร่างไป กำจัดได้โดยการฉีดพ่นด้วยสารละลายนิโคตินซัลเฟต (nicrotinesulphate) แต่ควรใข้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารเคมีที่มีความอันตรายร้ายแรงสูง

3. เพลี้ยงแป้งที่ราก (root mealy bug) มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่อันตรายมาก มันจะกัดทำลายรากในกระถางและทำลายระบบการทำงานของราก ต้นจะเหี่ยวและตายไปในที่สุด กำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน

4. เพลี้ยหอย (scale insect) มีรูปร่างคล้ายหัวเข็มหมุดสีน้ำตาล แข็งเหมือนเปลือกหอย กำจัดได้โดยการแคะออกด้วยไม้จิ้มฟัน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากให้ใช้มาลาไทออนหรือนิโคตินซัลเฟต

5. ไรแดง (red spider mites) เป็นแมลงที่พบมากในที่แห้งแล้งและมีอากาศร้อน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลแห้ง มีผลทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต กำจัดได้โดยการใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมและให้ฉีดน้ำซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 10 วัน

6. เพลี้ยอ่อน (wooly aphids) มีลักษณะคล้ายถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีผลต่อต้นแคคตัสคล้ายเพลี้ยอ่อน แมลงชนิดนี้มักทำลายส่วนเนื้อ่อนและโคนหนาม กำจัดได้โดยใช้แปรงเล็กๆ จุ่มเมทิลแอลกอฮอล์ (methylated spirit) ปัดพวกกลุ่มก้อนเล็กๆ ที่ปกคลุมอยู่ออกก่อนแล้วจึงใช้ยาประเภทดูดซึมในบริเวณที่พบอาหารมาก

7. เพลี้ยไฟ (thrips) มีผลทำให้เกิดจุดสีขาวและสีเหลืองบนใบ แก้ไขได้โดยใช้การฉีดพ่นด้วยสารนิโคตินซัลเฟต

8. ไส้เดือนฝอย (nematodes) เป็นศัตรูพืชสำคัญในโรงเรือนทำลายแคคตัสโดยการทำให้เกิดปมที่ราก ซึ่งมีผลต่อการดูดน้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ ได้โดยทางดินปลูก

9. หอยทากและทากดิน (snall & slugs) เป็นศัตรูพืชที่ก่อปัญหามากเช่นกัน แก้ไขได้โดยการโรยสารเมทัลดีไฮด์ (metaldehyde) ซึ่งเป็นแก๊สพิษที่ใช้กำจัดเชื้อราและแบคทีเรียให้เป็นเหยือล่อบนผิวดินก่อนนำไปกำจัด จากนั้นจึงรดน้ำตาม

สกุล Obregonia

Obregonia

สกุล Obregonia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Obregonia denegrii ซึ่งได้รับการค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2468 ชื่อสกุล Obregonia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีของเม็กซิโก คือ Alvaro Obregon ลักษณะรูปร่างของลำต้นเป็นทรงกลม จุดเด่นคือ เป็นกลีบหนา สีเขียว ปลายงอนแหลม เรียงหงายซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร และมีขนาดฐานกว้าง 2.5 เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บริเวณปลายกลีบ มีปุยนุ่มสีขาว ประกอบไปด้วยหนาม 4 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

ดอกจะเกิดบริเวณปุยนุ่มตรงกลางยอดของต้น มีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเส้นผ่าศูนย์ลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนผลมีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเล็ก เมื่อแห้งจะแตกออก

แคคตัสสกุล Obregonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด ชอบขึ้นใต้ร่มเงาของต้นไม้จำพวก xerophyte เจริญเติบโตค่อนข้างช้า ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี ชอบร่มเงา ถ้าต้นได้รับแสงมากเกินไปจะแดงและชะงักการเจริญเติบโตได้

สกุล Cephalocereua

Cephalocereus Senilis

สกุล Cephalocereua แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Cephalocereus Senilis ชื่อสกุล Cephalocereus มาจากภาษากรีก หมายถึง Cehpalium ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดดอก ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีสีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อมีอายุมากขึ้น ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ลำต้นเป็นสันเตี้ย ประมาณ 30 สัน ตุ่มหนามอยู่ชิดติดกัน มีหนามสีเหลืองหรือสีเทา 5 อัน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีขนสีขาว หรือสีเทาหยาบๆ พันรอบลำต้น ขนนี้จะช่วยปกคุลมอย่างหนาแน่น ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการช่วยปกปิดสีที่แท้จริงของต้นนั่นเอง

ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีขาวหรือสีเหลือง ดอกจะเกิดที่บริเวณ Cephalium ด้านบนของต้น เมื่อมีอายุมากขึ้นจะพบ Cephalium กระจายอยู่รอบต้นบริเวณด้านนอกของโคนก้านดอกและบริเวณรังไข่จะมีขนขึ้นปกคลุม

แคคตัสสกุล Cephalocereus ขยายพันธุ์ได้ง่าย ด้วยการเพาะเมล็ดและการตัดแยกต้น แต่ในระยะแรกของการปลูกเลี้ยงนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลเป็นพิเศษทั้งในเรื่องการให้น้ำ เพราะถ้ามากจนเกินไปรากอาจจะเน่าหรือตายได้ ถึงแม้ว่าต้นจะมีส่วนประกอบของ Cephalium อย่างสมบูรณ์แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้นจะต้องแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ บางครั้งอาจจะพบว่าต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ต้นถึงจะเริ่มสร้าง Cephalium

โรคจากเชื้อโรค

opuntia

โรคจากเชื้อโรคของแคคตัสมีอยู่ด้วยกัน 3 โรคหลักๆ คือ

1. เชื้อไวรัส (virus) เกิดกับแคคตัสบางสกุลเท่านั้น เช่น สกุล Epiphyllum มีลักษณะเป็นจุดสีเหลืองๆ หรือสีม่วง มีผลในการทำลายดอก สามารถกำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งแล้วเผาทำลาย

2. เชื้อ Corky Scab เกิดกับแคคตัสในสกุล Opuntia และ Epiphyllum อาการที่พบได้คือ เป็นฝุ่นสนิมหรือจุดบนลำต้น ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อชนิดนี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ต้นเหี่ยวและยุบลง เมื่อพบต้องทำลายทิ้งทันที

3. เชื้อรา มีผลทำให้เกิดรอยถลอกหรือช้ำเน่า กำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (fungus diseases) และทำลาย หลังจากนั้นให้ปิดปากแผลด้วยผงซัลเฟตหรือยาฆ่าราอื่นๆ