เรื่องล่าสุด
-
ขั้นตอนการเพาะเมล็ด 2
มกราคม 8, 2025
-
สกุล Espostoa
มกราคม 8, 2025
-
สกุล Parodia
มกราคม 7, 2025
-
ความเป็นมาของแคคตัส
มกราคม 7, 2025
-
การให้น้ำแคคตัส
มกราคม 6, 2025
-
โรคทางกายภาพ
มกราคม 6, 2025
-
กลุ่ม Mammillaria
มกราคม 5, 2025
-
สกุล Rhipsalis
มกราคม 5, 2025
-
กลุ่ม Echinocactus
มกราคม 4, 2025
-
กลุ่ม Lobivia
มกราคม 4, 2025
|
กลุ่ม Hylocereus แคคตัสกลุ่มนี้เป็นชนิดเลื่อย มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่จัดเป็นพืชพวก epiphytic (พืชที่ดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยพืชอื่น แต่ไม่ทำอันตรายหรือแย่งอาหารพืชที่อาศัยอยู่) มีระบบรากอากาศ (aerial roots) เป็นพืชที่ต้องการแสงและอุณหภูมิสูง ลำต้นของแคคตัสกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นสัน หนามค่อนข้างอ่อนแอ ดอกออกในฤดูร้อน ดอกมีสีขาว แดง และชมพู
แคคตัสกลุ่มนี้มีอยู่มากมายหลายสกุล ได้แก่ Aporocactus , Crytocereus , Deamia, Disocactus , Epiphyllum , Heliocereus , Hylocereus , Mediocactus , Nopalxochia , Pfeiffera , Rhipsalidopsis , Rhipsalis , Schenicereus , Weberocereus , Wittia และ Zygocactus มีหลายสายพันธุ์ เช่น Hylocereus minutiflorus , Hylocereus undatus (Queen of night) เป็นต้น
ส่วนประกอบของแคคตัส แคคตัสส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ขนาดก็มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 5 เมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่ๆ ซึ่งจะสูงประมาณ 24-25 เมตร ส่วนประกอบอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายๆ กันคือ
- ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และมีส่วนประกอบที่เรียกว่าตุ่มหนาม
- ไม่มีใบที่แท้จริง เพราะใบลดรูปกลายเป็นหนาม ช่วยลดการคายของน้ำ ยกเว้นสกุล Pereskia ที่ยังคงมีใบที่แท้จริงให้เห็นอยู่และยังช่วยดูดเอาไอน้ำในอากาศมาเก็บไว้
- ดอกเป็นแบบไม่มีก้านดอก มักเกิดจากตาดอกที่บริเวณตุ่มหนาม ยกเว้นสกุล Echinocereus ซึ่งมีตาดอกเกิดที่ผิวต้นใกล้เนินหนามสกุล Mammillaria และ Coryphantha ซึ่งมีตาดอกเกิดระหว่างซอกเนินหนาม สกุล Melocactus , Iscocactus และ Cephalacereus ที่สามารถเกิดตาดอกขึ้นที่ส่วนยอดของต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวหรือสีครีม
กลุ่ม Echinopsis มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่ลำต้นมีขนาดเล็กกว่า ดอกมีลักษณะเป็นหลอด และผิวด้านนอกของดอกมักมีขนหรือเกล็ดสั้นๆ ปกคลุมอยู่
แคคตัสกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหลายสกุลด้วยกันได้แก่ Acanthocalycium , Arequipa , Arthrocereus , Borzicactus , Cephalocleistocactus , Chamaecereus , Cleistocactus , Denmoza , Echinopsis , Espostoa , Haageocereus , Hildewintera , Lobivia , Matuacana , Mila , Oreocereus , Oroya , Rebutia , Soehrensai , Sulcorebutia , Thrizanthocereus , Weberbauerocereus และ Weingartia
การจำแนกสายพันธุ์ของแคคตัสเป็นกลุ่ม
แคคตัสจัดเป็นพืชในวงศ์ Cactaceae มีอยู่ทั่วโลกทั้งสิ้น 50-150 สกุลด้วยกัน หรือประมาณ 2,000 ชนิด ซึ่งแบ่งตามวิธีของ Gordon Rowley (หนังสือ The Illustrated Encyclopaedia of Succulents) ได้เป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
- กลุ่ม Ario Carpus
- กลุ่ม Astrophytum
- กลุ่ม Cereus
- กลุ่ม Echinocactus
- กลุ่ม Echinocereus
- กลุ่ม Echinopsis
- กลุ่ม Epiphyllum
- กลุ่ม Hylocereus
- กลุ่ม Lobivia
- กลุ่ม Mammillaria
- กลุ่ม Melocactus
- กลุ่ม Neopoteria
- กลุ่ม Opuntia
- กลุ่ม Pereskia
- กลุ่ม Pilocereus
- กลุ่ม Rebutia
ภาชนะปลูกแคคตัส ในปัจจุบันนี้กระถางดินเหนียวยังคงได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด เพราะน้ำซึมผ่านได้เร็ว จึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาการให้น้ำมากเกินจนต้นตาย แต่ข้อเสียของกระถางชนิดนี้ก็มีอยู่บ้าง นั่นคือ กระถางดินเหนียว มีรูพรุน น้ำจึงระเหยออกด้านข้างกระถางได้เรื่อยๆ ทำให้อาหารในดินสูญเสียไป จะสังเกตได้ว่าถ้าปลูกแคคตัสต้นเล็กๆ ในกระถางนี้ ต้นที่อยู่ในบริเวณกลางกระถางจะมีลักษณะแคระแกร็น ปัญหาการระเหยของน้ำนี้อาจแก้โดยการฝังกระถางบางส่วนไว้ใต้ทราย กรวด หรือถ่านพีท แต่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกก็คือ รากจะงอกทะลุรูที่ฐานกระถางลงสู้พื้นดินได้
ส่วนกระถางพลาสติกนั้นจะไม่ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นไปตามผิวกระถางเหมือนกระถางดินเหนียว เพราะน้ำจะระบายออกทางรูที่ฐานเท่านั้น นอกจากนี้กระถางพลาสติกยังมีน้ำหนักเบา และไม่มีตะไคร่ขึ้นตามผิวกระถางด้วย แต่ปัญหาในการใช้กระถางพลาสติกนั้นก็คือ ถ้าใช้ในที่มีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนเป็นเวลา 2-3 ปี กระถางกรอบจะเริ่มแตก ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมกับกระถางชนิดนี้มากที่สุด คือ บริเวณในร่มและตามขอบหน้าต่าง
วิธีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมและสามารถใช้ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การปลูกเป็นแนวยกชั้น (staging beds) โดยแต่ละชั้นจะมีความลึกประมาณ 5-6 นิ้ว และปูรองด้วยแผ่นพลาสติก โดยอาจจะมีหรือไม่มีรูระบายน้ำก็ได้ นอกจากนี้การเลือกประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำกระถางปลูกแล้ว ขนาดของกระถางก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกกระถางให้มีความเหมาะสมกับต้น โดยพิจารณาจากเนื้อที่ว่างระหว่างผิวต้นกับขอบกระถาง หากเหลือเนื้อที่น้อยกว่า 1 นิ้ว แสดงว่าแคคตัสมีขนาดโตเกินไปสำหรับกระถาง ควรเปลี่ยนใหม่ ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม แต่ทั้งนี้ไม่ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้ต้นโตช้า เนื่องจากวัสดุปลูกอุ้มน้ำมากเกินไปและบางครั้งอาจทำให้รากเน่าตายได้
แบบกระถางที่เลือกใช้ควรมีลักษณะที่เหมาะสมกับรูปทรงต้น หรือพันธุ์ที่นำมาปลูก ถ้าเป็นพันธุ์ต้นเตี้ยหรือทรงกลม ควรปลูกในกระถางที่ค่อนข้างกลมหรือสี่เหลี่ยมมนๆ ก้นกระถางไม่ควรสอบเข้าแบบถ้วยจอก และไม่ควรเป็นแบบกระถางทรงสูงเกินไป แต่ถ้าหากเป็นพันธุ์ที่เป็นเหลี่ยมทรงสูง ก็สามารถปลูกในกระถางที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือกระถางทรงกลมได้
การจับต้นลงปลูกในกระถางให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือเศษผ้าจับลำต้นเพื่อป้องกันหนามตำมือ โรยดินผสมรอบๆ ต้น ใช้ไม้เล็กๆ กดดินให้แน่นพอประมาณ ตกแต่งหน้าดินให้เรียบก่อนโรยหินแต่งหน้าให้เสมอขอบกระถาง
การเปลี่ยนกระถางปลูกทำได้โดยใช้ผ้าหรือกระดาษหุ้มรอบต้น เพื่อป้องกันอันตรายจากหนามและเพื่อไม่ให้ต้นกระทบกระเทือน เคาะกระถางเบาๆ ให้ต้นหลุดออกมา แล้วนำไปปลูกในกระถางใหม่ต่อไป
|
|