เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

สกุล Copiapoa

สกุล Copiapoa แคคตัสในกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิดและมีอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Copiapoa มาจากชื่อของเมืองโคเปียในประเทศชีลี แคคตัสสกุลนี้มีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งต้นขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 2-3 เซนติเมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่สูงกว่า 1 เมตร บ้างก็ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ บ้างก็ขึ้นรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ขนาดใหญ่ สีของต้นมีทั้งสีเทา สีฟ้าอมเทา จนไปถึงสีเขียว ตุ่มหนามมักมีขนาดใหญ่ เป็นรูปไข่และมีขนขึ้นปกคลุมเป็นปุยนุ่ม หนามก็มีลักษณะแตกต่างกันหลายประเภท แม้แต่ในชนิดเดียวกันหนามก็อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันได้ และมักจะไม่สามารถแยกหนามกลางและหนามข้างออกจากกันได้อย่างชัดเจนนัก แต่ก็พอจะแยกได้ว่าหนามข้างจะมีประมาณ 1-13 อัน ส่วนหนามกลางอาจจะมีถึง 20 อันหรือมไ่ม่มีก็เลย ชนิดที่มีต้นขนาดเล็ก มักมีหนามเล็กละเอียด ชนิดที่มีขนาดใหญ่หนามก็จะแข็งแรงและยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร หนามอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือโค้งงอ มีหลายสีตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลแดง จนถึงสี ดำ

ดอกส่วนใหญ่อยู่ในเฉดสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5 เซนติเมตร เกิดในบริเวณปุยนุ่มที่ยอดต้น ผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดเล็ก มีสีเทาจนถึงสีออกเหลือง เมื่อผลสุกจะแตกออกแคคตัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเหนือของชิลี พบมากในบริเวณแห้งแล้งกันดาร […]

แสงแดดและอุณหภูมิ

แคคตัสบางพันธุ์สามารถปลูกในอาคารได้ดี แต่บางพันธุ์ก็ต้องการแสงแดดมาก ช่วงแสงที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้นควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย ที่แดดไม่ร้อนจนเกินไปนัก ควรจัดวางภาชนะปลูกแคคตัสไว้ริมหน้าต่างที่แสงแดดสามารถส่องถึงได้ในตอนเช้า หรือถ้าหากตั้งไว้ในที่มีไม่มีแสงแดดเลย ก็ควรนำออกไปตากแดดริมหน้าต่างบ้าง เพียงวันละ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ตามแต่ความเหมาะสม และการดูแล

ต้นแคคตัสที่ได้รับแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี สีสันของหนามและของต้นจะสวยงาม แต่ถ้าหากได้รับแสงแดดจนมากเกินไปจะทำให้ต้นแห้ง เป็นสีน้ำตาล ดังนั้น ควรให้ร่มเงาหรือพรางแสงให้กับสถานที่เลี้ยงแคคตัสด้วย โดยให้เหลือแสงประมาณ 70-80 เปอร์เซน ก็พอแล้ว

สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้ แคคตัสส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อน บางชนิดอยู่ได้ในทะเลทรายดังนั้น ในประเทศไทยซึ่งมีอากาศค่อนข้างร้อน จึงเหมาะสมสามารถปลูกเลี้ยงแคคตัสได้ดีเกือบทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรือนที่อุณหภูมิประมาณ 27-32 องศาเซลเซียส หรือในช่วงเดือนเมษายนที่มีอุณหภูมิถึง 38 องศาเซลเซียสก็ตาม สำหรับในช่วงฤดูหนาวนั้น ถ้าเป็นแคคตัสที่พึ่งตัดชำก็จะทำให้ออกรากช้า หรือถ้าเป็นต้นที่อยู่ตัวดีแล้วก็อาจจะทำให้เจริญเติบโตช้าลงไปบ้างเท่านั้น

สกุล Cleistocactus

สกุล Cleistocactus แคคตัสในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยแคคตัสมากกว่า 50 ชนิด และอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Cleistocactus มาจากภาษากรีก โดยหมายถึง Closed Cactus หรือการผสมพันธุ์ที่เกิดขึ้นภายในดอกที่หุบอยู่ (เรียกดอกประเภทนี้ว่า cleisotogamous flower) ลำต้นอาจมีลักษณะตั้งตรงหรือโค้งงอ รูปร่างเรียวสูง และจะแตกกิ่งก้านอย่างอิสระ พวกที่มีลำต้นตั้งตรง อาจมีความสูงได้มากกว่า 2 เมตร ในขณะที่พวกที่มีลำต้นโค้งงอ เช่น Cleistocactus dependens อาจะมีความสูงได้ถึง 5 เมตรหรือมากกว่านั้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6.50 เซนติเมตร และมีสันประมาณ 7-26 สัน

แคคตัสกลุ่มนี้บางชนิด เช่น Cleistocactus strausil พูกลีบจะถูกปกคลุมไปด้วยหนามละเอียดมากมาย เนินหนามอยู่ชิดติดกันและมีขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยหนามกลางที่ยาวและแข็งแรง 4 อัน หนามข้างประมาณ 8-30 อัน หรือมากกว่านั้น ลักษณะละเอียดและอาจยาวได้ถึง 1.25 เซนติเมตร

ดอกมีลักษณะเป็นหลอด เปิดออกเฉพาะส่วนปลายเท่านั้น […]

สกุล Astrophytum

สกุล Astrophytum สำหรับแคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด และหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Astrophytum นี้มาจากภาษากรีก และมีความหมายว่า พืช โดยมีลักษณะรูปร่างลำต้นอ้วนกลม หรือเป็นทรงกระบอก บางชนิดอาจมีความสูงถึ 1 เมตร เช่น Astrophytum ormatum ลำต้นแข็ง บางชนิดจะมีปุยหรือเกล็ดสีขาวปกคลุมอยู่ บริเวณลำต้นมีสันต้น 5-9 สัน อาจมีหนามหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ ด้วย ตุ่มหนามมีลักษณะเป็นปุยสีขาวคล้ายกับสำลี หนามกลางและหนามข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน จึงไม่สามารถแยกได้ชัดเจนนัก หนามมีขนาดยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร

แคคตัสสกุล Astrophytum นี้ออกดอกเป็นรูปกรวย บริเวณตอนกลางด้านบนของต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-9 เซนติเมตร สีของดอกส่วนใหญ่ มักจะอยู่ในโทนสีเหลือง แต่อาจจะมีสีอื่นๆ ผสมอยู่ในดอกด้วย เช่น กลีบดอกสีเหลือง บริเวณโคนกลีบและกลางดอกอาจจะมีสีส้มหรือสีแดงก็เป็นได้ ลักษณะของผลเป็นทรงกลม มีขนาด 2.5 เซนติเมตร บางชนิดผลจะมีหนามปกคลุมคล้ายกับต้น เมื่อผลแก่เต็มที่แล้วจะแตกออกมาทางด้านโคน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย

[…]

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด 2

หลังจากที่ได้แนะนำขั้นตอนการเพาะเมล็ดทั้ง 2 แบบ ไปแล้ว ทั้งแบบเมล็ดขนาดเล็ก และเมล็ดขนาดกลาง ในบทความนี้ก็จะมาต่อกับการเพาะเมล็ดในแบบที่เหลือต่อไป นั่นคือ

3. เมล็ดขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ เมล็ดที่มีลักษณะกลมและเมล็ดที่มีลักษณะแบน – เมล็ดที่มีลักษณะกลม เริ่มโดยการวางเมล็ดลงในวัสดุเพาะและเว้ยระยะห่างเท่าๆ กัน ใช้นิ้วมือที่แห้งสนิทกดเมล็ดลงในวัสดุเพาะเบาๆ เพียงครั้งเดียว และอย่าให้ลึกนัก นำภาชนะเพาะลงไปวางในถาดหรือจานที่บรรจุน้ำ ปล่อยให้ดูดน้ำจนชุ่มประมาณ 10 นาทีขึ้นไป เมื่อชุ่มชื้นทั่วถึงดีแล้ว ให้โปรยทรายหยาบลงไปให้ทั่วโดยให้มีขนาดความหนาพอๆ กับเมล็ด จากนั้นจึงไปวางในถาดหรือจานอีกใบหนึ่ง

– เมล็ดที่มีลักษณะแบน ใช้แหนบหยิบวางทีละเมล็ดและกดลงไปในวัสดุเพาะนำภาชนะเพาะไปวางในถาดหรือจานที่บรรจุน้ำ ปล่อยให้ดูดน้ำจนชุ่ม เมื่อชุ่มดีแล้วให้โปรยทรายหยาบให้ทั่ว โดยให้มากกว่าการเพาะเมล็ดชนิดอื่นๆ เล็กน้อย คือให้มีความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หรืออาจจะประมาณความหนาของทรายโดยดูจากขนาดของเมล็ดก็ได้

4. เมล็ดผสมกันหลายขนาด เมล็ดของแคคตัสที่คละกันขนาดของเมล็ดก็มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับเมล็ดที่มีขนาดใหญ่หรือเมล็ดชนิดแบบนั้น อาจจะใช้วิธีกดลงไปในดินได้ สำหรับเมล็ดขนาดกลางและขนาดเล็กไม่สามารถใช้วิธีนั้นได้ วิธีที่ดีที่สุด คือ ใช้วัสดุที่มีลักษณะแข็งและเป็นมัน กดเมล็ดทุกเมล็ดที่หว่านในภาชนะแล้วลงไป วัสดุที่มีผิวมันจะไม่ทำให้เมล็ดตามติดขึ้นมา เมื่อกดเมล็ดลงในวัสดุเพาะแล้วจึงโปรยทรายหยาบลงไปบางๆ พอที่เมล็ดเล็กๆ จะมีที่แทงต้นกล้าขึ้นมาได้ […]