เรื่องล่าสุด
-
กลุ่ม Opuntia
ธันวาคม 23, 2024
-
ลักษณะหนามของแคคตัส
ธันวาคม 23, 2024
-
สกุล Thelocactus
ธันวาคม 22, 2024
-
กลุ่ม Rebutia
ธันวาคม 22, 2024
-
การขยายพันธุ์แคคตัสโดยการต่อยอด
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Pilosocereus
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Lophophora
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Carnegiea
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Gymnocalycium
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Echinocactus
ธันวาคม 20, 2024
|
แมลงเป็นศัตรูพืชของแคคตัสมักจะมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก เพราะมักจะซ่อนตัวอยู่ระหว่างรอยต่อของหัวย่อยบริเวณตาดอกซอกเนินหนาม หรือในดินปลูก ผู้เลี้ยงจึงควรตรวจดูบริเวณดังกล่าวให้ละเอียดและมากเป็นพิเศษ หากพบว่าแคคตัสมีอาการผิดปกติซึ่งเกิดจากแมลงศัตรูพืชก็ควรแยกต้นนั้นออกไปทันที เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด
แมลงศัตรูพืชของแคคตัสที่พบมากที่สุด ได้แก่ 1. เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของแคคตัส มีลักษณะคล้ายกับปุยสำลีสีขาวและมีตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งอยู่ภายในตามปกติจะอยู่รวมกันในพื้นที่ที่ค้นหายาก เช่น รอบๆ ฐานของตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น บริเวณเหนือผิวดิน และราก เพลี้ยแป้งอาจมีผลทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต อาจแก้ไขได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน (malathion) ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลงประเภทลอกาโนฟอสเฟต มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ มีพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยงค่อนข้างต่ำ หรือพวกไพรีทรายด์ (pyrethroid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนได้ดี แต่มีพิษต่อคนและสัตว์ต่ำเช่นกัน บางครั้งอาจพบว่าเมื่อใช้ยาฆ่าแมลงแล้วยังมีเพลี้ยแป้งอยู่ โดยเฉพาะเมื่อย้ายหรือเปลี่ยนกระถาง หรือบางครั้งอาจเกิดเป็นกลุ่มสีเทารอบๆ ราก สามารถกำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงและควรใช้ซ้ำอีกครั้งหลังการใช้ยาครั้งแรกประมาณ 5-10 วัน
2. เพลี้ยอ่อน (aphids) มีลักษณะลำตัวอ่อนนุ่ม สีเขียวคล้ำ มักอาศัยอยู่ตามตาดอก เพลี้ยอ่อนมีผลทำให้ต้นแคคตัสเจริญเติบโตผิดรูปร่างไป กำจัดได้โดยการฉีดพ่นด้วยสารละลายนิโคตินซัลเฟต (nicrotinesulphate) แต่ควรใข้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารเคมีที่มีความอันตรายร้ายแรงสูง
3. เพลี้ยงแป้งที่ราก […]
สกุล Obregonia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Obregonia denegrii ซึ่งได้รับการค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2468 ชื่อสกุล Obregonia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีของเม็กซิโก คือ Alvaro Obregon ลักษณะรูปร่างของลำต้นเป็นทรงกลม จุดเด่นคือ เป็นกลีบหนา สีเขียว ปลายงอนแหลม เรียงหงายซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร และมีขนาดฐานกว้าง 2.5 เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บริเวณปลายกลีบ มีปุยนุ่มสีขาว ประกอบไปด้วยหนาม 4 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
ดอกจะเกิดบริเวณปุยนุ่มตรงกลางยอดของต้น มีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเส้นผ่าศูนย์ลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนผลมีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเล็ก เมื่อแห้งจะแตกออก
แคคตัสสกุล Obregonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด ชอบขึ้นใต้ร่มเงาของต้นไม้จำพวก xerophyte เจริญเติบโตค่อนข้างช้า ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี ชอบร่มเงา ถ้าต้นได้รับแสงมากเกินไปจะแดงและชะงักการเจริญเติบโตได้
[…]
สกุล Cephalocereua แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Cephalocereus Senilis ชื่อสกุล Cephalocereus มาจากภาษากรีก หมายถึง Cehpalium ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดดอก ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีสีเขียวอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อมีอายุมากขึ้น ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ลำต้นเป็นสันเตี้ย ประมาณ 30 สัน ตุ่มหนามอยู่ชิดติดกัน มีหนามสีเหลืองหรือสีเทา 5 อัน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีขนสีขาว หรือสีเทาหยาบๆ พันรอบลำต้น ขนนี้จะช่วยปกคุลมอย่างหนาแน่น ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการช่วยปกปิดสีที่แท้จริงของต้นนั่นเอง
ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีขาวหรือสีเหลือง ดอกจะเกิดที่บริเวณ Cephalium ด้านบนของต้น เมื่อมีอายุมากขึ้นจะพบ Cephalium กระจายอยู่รอบต้นบริเวณด้านนอกของโคนก้านดอกและบริเวณรังไข่จะมีขนขึ้นปกคลุม
แคคตัสสกุล Cephalocereus ขยายพันธุ์ได้ง่าย ด้วยการเพาะเมล็ดและการตัดแยกต้น แต่ในระยะแรกของการปลูกเลี้ยงนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลเป็นพิเศษทั้งในเรื่องการให้น้ำ […]
โรคจากเชื้อโรคของแคคตัสมีอยู่ด้วยกัน 3 โรคหลักๆ คือ
1. เชื้อไวรัส (virus) เกิดกับแคคตัสบางสกุลเท่านั้น เช่น สกุล Epiphyllum มีลักษณะเป็นจุดสีเหลืองๆ หรือสีม่วง มีผลในการทำลายดอก สามารถกำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งแล้วเผาทำลาย
2. เชื้อ Corky Scab เกิดกับแคคตัสในสกุล Opuntia และ Epiphyllum อาการที่พบได้คือ เป็นฝุ่นสนิมหรือจุดบนลำต้น ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อชนิดนี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ต้นเหี่ยวและยุบลง เมื่อพบต้องทำลายทิ้งทันที
3. เชื้อรา มีผลทำให้เกิดรอยถลอกหรือช้ำเน่า กำจัดได้โดยการตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (fungus diseases) และทำลาย หลังจากนั้นให้ปิดปากแผลด้วยผงซัลเฟตหรือยาฆ่าราอื่นๆ
สกุล Rebutia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 70 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ชื่อสกุล Rebutia นั้นตั้งขึ้นเพื่อแสดงความเป็นเกียรติแก่ P. Rebut พ่อค้าแคคตัส สำหรับสกุลนี้มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก ลำต้นอ่อนนุ่ม มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในหัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยเนินหนาม ตุ่มหนามขนาดเล็กประกอบไปด้วยหนามละเอียด ขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งลักษณะแผ่กระจายหรือแนบชิดไปกับลำต้น มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล
ดอกมีลักษณะทรงกรวย ขึ้นอยู่เป็นรอบๆ ต้นเหนือผิวดิน มีมากมายหลายสี ยกเว้นโทนสีฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ส่วนผลมีลักษณะทรงกลม ขนาดเล็กมาก มีหนามเล็กๆ อยู่ 2-3 อัน เมื่อแก่จะมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล
แคคตัสสกุล Rebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาสูงในโบลิเวีย และทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา ในระดับความสูง 3,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะปกคลุม แต่มีความชื้นในบรรยากาศต่ำ ออกดอกมากในฤดูหนาว […]
|
|