เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

กลุ่ม Cereus

กลุ่ม Cereus แคคตัสกลุ่มนี้เรารู้จักกันในชื่อของกระบองเพชร จึงไม่มีใบหรือ giochids (หนามหรือขนแข็งที่มีปลายโค้งงอ อาจจะอยู่รวมกันเป็นกระจุกๆ ) เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะต้นเป็นทรงกระบอก มีสันและหนามปกคลุม หรือไม่มีก็ได้

แคคตัสในกลุ่มนี้ปลูกเลี้ยงง่ายและชอบแสงแดดมาก มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล เช่น Armatocereus , Arrojadoa, Bergerocactus , Borzicactus , Brachycereus , Browningia , Calymmanthium , Carnegiea , Cephalocereus , Cereus , Chamaecereus , Cleistocactus ,Corryocactus , Dendrocereus , Echinocereus , Erdisia , Escontria , Eulychnia , Harrisia , Hildwinters , Jasminocereus […]

สกุล Hamatocactus

สกุล Hamatocactus แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 6 ชนิดและอีก 2-3 สายพันธุ์ ชื่อสกุล Hamotocactus มาจากภาษาละติน หมายถึง แคคตัสที่มีลักษณะเป็นตะขอ ต้นมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก สีเขียวถึงสีเขียวอมน้ำเงิน แต่บางครั้งก็จะเหลือบๆ น้ำตาล ลำต้นเป็นสัน มีประมาณ 12-14 สัน มีตุ่มหนามลักษณะเป็นรูปไข่วางเรียงอยู่ห่างกัน ประกอบไปด้วยหนามข้างรูปทรงกลมหรือแบน ซึ่งอาจจะมีลักษณะตั้งตรง โค้งงอ หรือมีปลายเป็นตะขอ ประมาณ 7-15 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.25-1.75 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางมีหลายสีด้วยกัน ได้แก่ สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลออกแดงๆ มีอยู่ประมาณ 1-5 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1-12.5 เซนติเมตร หนามกลางอันที่ยาวที่สุดจะมีปลายงอคล้ายกับตะขอ

ดอกมีลักษณะทรงกรวย สีเหลือง โคนกลีบดอกเป็นสีแดง สีน้ำตาลอมม่วง หรือสีม่วง ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร

แคคตัสสกุล Hamatocactus […]

ลักษณะทั่วไปของแคคตัส

ลักษณะทั่วไปของแคคตัส โดยปกตินั้นคนส่วนใหญ่จะคิดว่าแคคตัสหรือต้นไม้ที่มีหนามแต่ในความเป็นจริงแล้ว แคคตัสบางสกุลอย่าง Lophophora หรือ แคคตัสสกุล Astrophytum บางชนิดนั้นก็ไม่มีหนามเลย ในขณะที่ไม้อวบน้ำบางสกุลอย่าง Euphorbia ก็มีหนาม แต่ไม่จัดว่าเป็นแคคตัส

ตามหลักพฤกษศาสตร์ได้พูดเอาไว้ว่าพืชที่จัดว่าเป็นแคคตัสหรือจัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae นั้น เป็นไม้ยืนต้นและต้องมีบริเวณที่เรียกว่าตุ่มหนาม บริเวณดังกล่าวจะเป็นที่พบกลุ่มของหนามหรือขนแข็งขึ้นอยู่ และเรียงไปตามแนวซี่ หรือสันสูงของต้นอย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งยังเป็นบริเวณที่เกิดตาดอกและแตกกิ่งใหม่ของต้นอีกด้วย นอกจากนี้ดอกจะมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกัน รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ถ้านอกเหนือจากนี้ เช่น ไม่พบตุ่มหนาม หนามขั้นแต่ไม่เป็นระเบียบ ขึ้นอยู่กระจายๆ รอบๆ ต้น ดอกไม้ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอก หรือรังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นๆ ไม่จัดว่าเป็นแคคตัสทั้งหมด

สำหรับเพื่อนๆ คนที่ไหนที่กำลังสงสัย ก็ลองเอากระบองเพชร หรือน้องแคคตัสมาลองเช็คดูกันได้ว่า ใช่แคคตัสจริงๆ รึป่าว…

สกุล Stetsonia

สกุล Stetsonia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Stetsonia coryne ลักษณะรูปร่างของต้นเป็นทรงกระบอก แตกกิ่งก้านได้อย่างอิสระ ต้นที่มีอายุมากๆ จะพบว่าสามารถแตกกิ่งก้านได้มากกว่า 100 กิ่ง และสามารถสูงได้ถึง 8 เมตร ส่วนโคนต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างแข็ง เป็นสันสีเขียวถึงสีเขียวอมฟ้า 8-9 สัน ตุ่มหนามมีสีขาว วางอยู่ห่างกัน ประกอบด้วยหนามแข็ง 9 อัน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนจะมีสีน้ำตาลออกเหลือง และเมื่อแก่ตัวขึ้นจะมีสีออกขาว ปลายสีดำ

ดอกมีสีขาว มีลักษณะโค้งเล็กน้อย หลอดดอกแคบ และมักจะบานตอนกลางคืน ขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ผลมีลักษณะทรงกลม ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น เมื่อแก่จะมีสีแดงอมเขียว

แคคตัสในสกุล Stetsonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบที่ราบสูงทางตอนเหนือของอาร์เจนติน่า โบลิเวีย และสเตทโซเนีย ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการเพาะเมล็ด แต่ถ้าความชื้นในบรรยากาศต่ำก็สามารถตัดแยกออกมาได้ ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และควรงดให้น้ำในฤดูหนาว

[…]

สกุล Echinofossulocactus

สกุล Echinofossulocactus แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ชื่อสกุล Echinofossulocactus มาจากภาษากรีก และภาษาละติน หมายถึง เม่น และ รอยบาก แต่เดิมสกุลนี้ รู้จักกันในชื่อว่า Stenocactus ลักษณะเป็นทรงกลมถึงทรงกระบอก บางชนิดจะมีการแตกกิ่งด้านอย่างอิสระรอบๆ โคนต้น แคคตัสในสกุลนี้จำแนกค่อนข้างยาก เพราะมีหลากหลายรูปแบบ บางชนิดลำต้นเป็นสันถึง 100 สัน และมีลักษณะเป็นคลื่นบางชนิดก็มีหนามหนาแน่นมากจนไม่สามารถมองเห็นสันลำต้นได้ ตุ่มหนามมีขนาดเล็ก อาจอยู่ติดกันหรือห่างกันได้ถึง 4 เซนติเมตร หนามข้างมีขนาดเล็ก คล้ายเข็ม แต่แข็งแรงมาก มีอยู่ประมาณ 4-20 อัน หนามกลาง 1-4 อัน เช่น Echinofossulocactus lancifer มีหนามที่แข็งแรงมาก ยาวถึ 2.5 เซนติเมตร หนามกลางจะแข็งแรงกว่าหนามข้าง สีหนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง จนถึงสีน้ำตาล ในบางชนิดหนามกลางจะมีลักษณะอ้วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล สีน้ำตาลแดง หรือสีดำ ยาวประมาณ […]