เรื่องล่าสุด
-
กลุ่ม Rebutia
ธันวาคม 22, 2024
-
การขยายพันธุ์แคคตัสโดยการต่อยอด
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Pilosocereus
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Lophophora
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Carnegiea
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Gymnocalycium
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Echinocactus
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Uebelmannia
ธันวาคม 19, 2024
-
ดินปลูกสำหรับแคคตัส
ธันวาคม 19, 2024
-
สกุล Ferocactus
ธันวาคม 18, 2024
|
สกุล Espostoa แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ 8 ชนิด และมีอีก 2-3 สายพันธุ์ ชื่อสกุล Espostoa ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ N.E. Espostoa of Lima ของประเทศเปรู ต้นมีลักษณะเป็นพุ่มๆ หรือคล้ายไม้ยืนต้นก็ได้ มีสีเขียว ปกคลุมไปด้วยขนพุ่มสีขาวหนาแน่น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-15 เซนติเมตร และสูง 2-7 เมตร ลำต้นเป็นสัน 20-30 สัน มีตุ่มหนามอยู่ชิดติดกัน ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีขนาดสั้น ค่อนข้างละเอียดมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง หรือสีออกแดงๆ ประมาณ 20-40 อัน หนามกลางมีลักษณะเหมือนกับหนามข้าง แต่แข็งแรงกว่า มีอยู่ประมาณ 1-2 อัน และยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมี cephalium ซึ่งปกคลุมไปด้วยขนสีเขียวออกเหลืองๆ ถึงสีน้ำตาล อยู่ทางด้านข้างของลำต้น
ดอกจะออกอยู่ตรงบริเวณ cephalium […]
สกุล Parodia แคคตัสในสกุลนี้มีมากกว่า 100 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Parodia ต้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Domingo Parodi นักพฤกษาศาสตร์ชาวปารากวัย ลักษณะลำต้นอ้วนแป้นเป็นทรงกระบอก ตามปกติมักจะขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ ลำต้นเป็นสัน มีประมาณ 12-15 สัน เรียงเวียนเป็นเกลียว ตุ่มหนามเป็นปุยนุ่ม การผลิหนามมีหลายลักษณะ เช่น เป็นหนามตรง หรือโค้งงอเป็นตะขอ หนามข้างมีลักษณะละเอียด มีอยู่ประมาณ 10-40 อัน ส่วนหนามกลางลักษณะแข็งแรงง มีอยู่ประมาณ 1-10 อัน หนามมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาลออกแดง ดอกมีลักษณะทรงกรวย ผิวด้านนอกของดอกเป็นเกล็ด มีขนหรือหนามแข็งปกคลุม มีหลายสี เช่น สีเหลือง สีส้มสดใส และสีแดง ส่วนท่อดอกมีขนาดสั้นมาก ผลมีสีครีมหรือสีน้ำตาลซีด มีทรงกลมหรือรี มีขนแข็งเล็กๆ ปกคลุม และจะแห้งเมื่อแก่เต็มที่
แคคตัสสกุล Parodia […]
ต้นตระกูลของแคคตัสเริ่มในช่วงยุค Mesozonic และช่วงต้นของยุค Teriaary ซึ่งเป็นยุคที่พืชมีดอกมีการพัฒนามากที่สุด แต่เดิมนั้นแคคตัสมีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ เท่าไรนัก ยังคงมีใบที่แท้จริงและมีทรงต้นเหมือนๆ กับพืชชนิดอื่น แต่ด้วยเหตุผลที่ต้องเผชิญกับอากาศและสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนลดลงและอากาศที่ร้อนแห้ง จึงส่งผลกระทบต่อพืชในแถบนี้ที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง จึงต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศเพื่อให้สามารถต้านทานต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ให้ได้ จึงมีการเก็บสะสมน้ำจำนวนมากไว้ที่ลำต้น ทำให้ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วนและสั้นลง
แคคตัสเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังแหล่งอื่นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ กัน เช่น แคคตัสสกุล Rhipsalis แพร่พันธุ์อยู่ในแอฟริกาและอินเดียโดยนก หรือแคคตัสสกุล Opuntia ซึ่งมีผู้นำเข้าไปปลูกเลี้ยงในทวีปยุโรป เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยเอง ไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้อย่างแน่ชัดว่ามีการนำเข้าแคคตัสเข้ามาปลูกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คาดว่าน่าจะยาวนานกว่า 30 ปีมาแล้ว โดยในสมัยก่อนมีแคคตัสเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่าไร อย่างเช่น ใบเสมอ หรือโบตั๋น เป็นต้น
แคคตัสเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก แต่ถ้าแคคตัสขาดน้ำ แม้จะไม่ตายเพราะในต้นมีน้ำเลี้ยง แต่ก็จะไม่เจริญเติบโตงอกงามเท่าที่ควร เพราะขาดน้ำที่เพียงพอ
วิธีการให้น้ำแคคตัสอย่างถูกต้อง คือ ไม่ควรรดน้ำทุกวัน ให้ดูที่สภาพของดินก่อน ถ้าดินเริ่มแห้งจึงจะรด อาจจะรดทุกๆ 2-3 วัน หรือไม่ควรถี่จนเกินไป หรือถี่แบบวันเว้นวัน ควรรดน้ำให้โชกถึงราก แต่ระวังอย่าให้น้ำขังหรือดินแฉะ เพราะจะทำให้แคคตัสเน่าหรือเป็นโรคตายได้
แคคตัสแต่ละพันธุ์มีความต้องการน้ำและความถี่ในการรดน้ำแตกต่างกันออกไป มีวิธีทดสอบได้อย่างง่ายๆ คือ การปักไม้แห้งเล็กๆ ลงไปให้ลึกถึงโคนกระถางในวันที่รดน้ำ จากนั้นให้คอยสังเกตว่าไม้ยังชื้นน้ำอยู่หรือไม่ หากไม้แห้งเมื่อใดก็แสดงว่าถึงเวลาให้น้ำครั้งต่อไปแล้ว เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่รดน้ำครั้งแรกจนถึงวันที่ไม้ที่ปักแห้ง ก็จะได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำให้แก่แคคตัสพันธุ์นั้นๆ
โรคทางกายภาพ เกิดจากสภาพการเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง มีหลายอาการ เช่น 1. ยอดต้นเริ่มเปลี่ยนสี ยุบและเน่าในทันที เกิดจากการให้น้ำมาเกินไป โดยเฉพาะในฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ พบมากในสกุล mammillaria 2. ต้นไม่เจริญเติบโต เกิดจาการให้น้ำมากเกินไป ดินอัดแน่นจนเกินป หรือรากเน่า แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนดินใหม่โดยให้ใช้ดินผสมและควรปรับปรุงการให้น้ำ 3. ลำต้นหรือใบเหลือง เกิดจากการที่ต้นได้รับความร้อนหรือแห้งจนเกินไป แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนระบบระบายอากาศและความชื้น 4. ลำต้นหรือใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกิดจากการที่ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง และขาดธาตุเหล็ก แก้ไขได้โดยตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง ของดิน และควรเติมธาตุเหล็กลงในดิน 5. ต้นมีสีซีดจาง เกิดจากรากเป็นแผล แก้ไขโดยการตัดรากที่ตายหรือถูกทำลายนั้นทิ้งไป และเปลี่ยนกระถางใหม่ 6. ต้นมีลักษณะยืดยาว เกิดจากการที่ได้รับแสงไม่เพียงพอ แก้ไขโดยการย้ายกระถางไปตั้งในที่มีแสงสว่างเพียงพอ 7. ตาดอกไม่ผลิดอกเกิดจากการที่สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำ หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แก้ไขโดยการย้ายกระถางไปตั้งในที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมหรือสูงขึ้น 8. ดอกน้อยหรือดอกไม่บาน เกิดจากการที่ต้นไม้ได้รับธาตุไนโตรเจนมากจนเกินไปหรือไม่ได้พักตัวในช่วงฤดูหนาว แก้ไขโดยการให้ธาตุไนโตรเจนน้อยลง เพิ่มธาตุฟอสฟอรัส และควรให้พืชได้พักตัวในช่วงฤดูหนาว 9. ต้นอ่อนนุ่ม เกิดจากการที่สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูงจนเกินไป และมีอุณหภูมิต่ำ แก้ไขโดยการลดความชื้น ตัดส่วนที่อ่อนนุ่มทิ้งไป และใช้ยากันราโรย 10. […]
|
|