เรื่องล่าสุด
-
สกุล Pilosocereus
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Lophophora
ธันวาคม 21, 2024
-
สกุล Carnegiea
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Gymnocalycium
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Echinocactus
ธันวาคม 20, 2024
-
สกุล Uebelmannia
ธันวาคม 19, 2024
-
ดินปลูกสำหรับแคคตัส
ธันวาคม 19, 2024
-
สกุล Ferocactus
ธันวาคม 18, 2024
-
การปลูกแคคตัสในกระบะ และการปลูกลงดิน
ธันวาคม 18, 2024
-
สกุล Dolichothle
ธันวาคม 17, 2024
|
สกุล Aztekium สกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Aztekium ritteri ชื่อสกุล Aztekium ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ The AZtek Race สกุลนี้มีลักษณะรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเกิดการแตกเป็นต้นเล็กๆ ออกมาและอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหัวเดี่ยวๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร มีสันต้นประมาณ 11 สัน ลักษณะเป็นรอยย่นซ้อนทับกันอยู่ในแต่ละกลีบ สีของต้นมีตั้งแต่สีเขียวจนไปถึงสีเขียวออกเทา บริเวณ ตอนกลางด้านบนของต้นปกคลุมด้วยปุยนุ่มสีขาว ตุ่มหนามมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยหนามอ่อนขนาดเล็ก 3 อัน
ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมีสีชมพู เกิดได้ทุกบริเวณของต้น ผลมีลักษณะคล้ายผลเบอรี่ มีขนาดเล็ก สีชมพู ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปบนปุยสีขาวตอนบนของต้น เมื่อผลแก่เต็มที่จะแห้งและแตกออก เมล็ดมีขนาดเล็กมาก
แคคตัสสกุล Aztekium มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของเม็กซิโก มักขึ้นอยู่บริเวณหน้าผาสูงชันหรือตามซอกเขา ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้งขยายพันธุ์โดยการแยกต้นและการเพาะเมล็ด แต่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษในช่วงเพาะ ส่วนต้นเมื่ออยู่ในระยะพร้อมออกดอกนั้น ควรใช้ดินผสมในการปลูก เพราะจะช่วยในการระบายน้ำได้ดี ในช่วงฤดูหนาวถ้าหากงดการให้น้ำ […]
สกุล Corypantha แคคตัสในกลุ่มนี้ประกอบดไปด้วย 70 ชนิดและหลายสายพันธุ์ ชื่อ Corypantha มาจากภาษากรีก หมายถึง “ยอด” และ “ดอก” รวมแล้วหมายถึง ตำแหน่งการออกดอกบนต้น ทรงต้นมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่และเล็ก ทรงกระบอก ทรงแท่งเล็ก ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาจพบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ กลุ่มที่มีอายุหลายปีอาจจะมีอยู่รวมกันถึง 50 หัวหรืออาจจะมากกว่านั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวถึง 65 เซนติเมตร เช่น Corypantha recurvata ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของรัฐอริโซนา พบว่ามีถึง 200 หัว ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ประกอบด้วยหนาม 30 อัน ในลักษณะกระจาย หนามยาว 2.5 เซนติเมตร และมีหนามกลาง 4 อัน ซึ่งบางอันมีรูปร่างคล้ายตะขอ
ดอกมีลักษณะทรงกรวย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25-5 เซนติเมตร มีสีสันมากมายหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีชมพู สีส้มจนไปถึงสีม่วงแดง […]
ชื่อสกุล Lophocereus มาจากคำว่า lophos ซึ่งหมายถึง ยอดของต้นที่ประกอบไปด้วยขนสั้นและแข็ง ต้นมีลักษณะทรงกระบอก สีเขียวสด เป็นมัน แตกกิ่งก้านได้อย่างอิสระ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร และสามารถสูงได้ถึง 10 เมตร ลำตันเป็นเป็นสัน มีประมาณ 5-15 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลม ซึ่งตุ่มหนามบริเวณตอนบนของต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วพร้อมออกดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าต้นที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ตุ่มหนามประกอบไปด้วยหนามข้าง 5-10 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีหนามกลาง 1-5 อัน แต่สำหรับต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบไปด้วยหามสั้นและแข็ง ประมาณ 25-50 อัน ซึ่งสามารถยาวได้ถึง 2.5-6 เซนติเมตร
ดอกมีลักษณะทรงกรวย สีขาวหรือสีชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะทรงกลม เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 เซนติเมตร
แคคตัสสกุล Lophocereus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา […]
กลุ่ม Hylocereus แคคตัสกลุ่มนี้เป็นชนิดเลื่อย มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม Cereus แต่จัดเป็นพืชพวก epiphytic (พืชที่ดำรงชีวิตอยู่โดยอาศัยพืชอื่น แต่ไม่ทำอันตรายหรือแย่งอาหารพืชที่อาศัยอยู่) มีระบบรากอากาศ (aerial roots) เป็นพืชที่ต้องการแสงและอุณหภูมิสูง ลำต้นของแคคตัสกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นสัน หนามค่อนข้างอ่อนแอ ดอกออกในฤดูร้อน ดอกมีสีขาว แดง และชมพู
แคคตัสกลุ่มนี้มีอยู่มากมายหลายสกุล ได้แก่ Aporocactus , Crytocereus , Deamia, Disocactus , Epiphyllum , Heliocereus , Hylocereus , Mediocactus , Nopalxochia , Pfeiffera , Rhipsalidopsis , Rhipsalis , Schenicereus , Weberocereus , Wittia และ Zygocactus มีหลายสายพันธุ์ เช่น Hylocereus […]
ส่วนประกอบของแคคตัส แคคตัสส่วนใหญ่จะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ทรงกลม ทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ขนาดก็มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 5 เมตร จนถึงต้นที่มีขนาดใหญ่ๆ ซึ่งจะสูงประมาณ 24-25 เมตร ส่วนประกอบอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายๆ กันคือ
ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และมีส่วนประกอบที่เรียกว่าตุ่มหนาม ไม่มีใบที่แท้จริง เพราะใบลดรูปกลายเป็นหนาม ช่วยลดการคายของน้ำ ยกเว้นสกุล Pereskia ที่ยังคงมีใบที่แท้จริงให้เห็นอยู่และยังช่วยดูดเอาไอน้ำในอากาศมาเก็บไว้ ดอกเป็นแบบไม่มีก้านดอก มักเกิดจากตาดอกที่บริเวณตุ่มหนาม ยกเว้นสกุล Echinocereus ซึ่งมีตาดอกเกิดที่ผิวต้นใกล้เนินหนามสกุล Mammillaria และ Coryphantha ซึ่งมีตาดอกเกิดระหว่างซอกเนินหนาม สกุล Melocactus , Iscocactus และ Cephalacereus ที่สามารถเกิดตาดอกขึ้นที่ส่วนยอดของต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นปุยนุ่มสีขาวหรือสีครีม […]
|
|