เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

โรคจากแมลง




แมลงเป็นศัตรูพืชของแคคตัสมักจะมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ยาก เพราะมักจะซ่อนตัวอยู่ระหว่างรอยต่อของหัวย่อยบริเวณตาดอกซอกเนินหนาม หรือในดินปลูก ผู้เลี้ยงจึงควรตรวจดูบริเวณดังกล่าวให้ละเอียดและมากเป็นพิเศษ หากพบว่าแคคตัสมีอาการผิดปกติซึ่งเกิดจากแมลงศัตรูพืชก็ควรแยกต้นนั้นออกไปทันที เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด

แมลงศัตรูพืชของแคคตัสที่พบมากที่สุด ได้แก่
1. เพลี้ยแป้ง (Mealy bug) เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของแคคตัส มีลักษณะคล้ายกับปุยสำลีสีขาวและมีตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งอยู่ภายในตามปกติจะอยู่รวมกันในพื้นที่ที่ค้นหายาก เช่น รอบๆ ฐานของตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น บริเวณเหนือผิวดิน และราก เพลี้ยแป้งอาจมีผลทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต อาจแก้ไขได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน (malathion) ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลงประเภทลอกาโนฟอสเฟต มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ มีพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยงค่อนข้างต่ำ หรือพวกไพรีทรายด์ (pyrethroid) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนได้ดี แต่มีพิษต่อคนและสัตว์ต่ำเช่นกัน บางครั้งอาจพบว่าเมื่อใช้ยาฆ่าแมลงแล้วยังมีเพลี้ยแป้งอยู่ โดยเฉพาะเมื่อย้ายหรือเปลี่ยนกระถาง หรือบางครั้งอาจเกิดเป็นกลุ่มสีเทารอบๆ ราก สามารถกำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงและควรใช้ซ้ำอีกครั้งหลังการใช้ยาครั้งแรกประมาณ 5-10 วัน

2. เพลี้ยอ่อน (aphids) มีลักษณะลำตัวอ่อนนุ่ม สีเขียวคล้ำ มักอาศัยอยู่ตามตาดอก เพลี้ยอ่อนมีผลทำให้ต้นแคคตัสเจริญเติบโตผิดรูปร่างไป กำจัดได้โดยการฉีดพ่นด้วยสารละลายนิโคตินซัลเฟต (nicrotinesulphate) แต่ควรใข้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารเคมีที่มีความอันตรายร้ายแรงสูง

3. เพลี้ยงแป้งที่ราก (root mealy bug) มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่อันตรายมาก มันจะกัดทำลายรากในกระถางและทำลายระบบการทำงานของราก ต้นจะเหี่ยวและตายไปในที่สุด กำจัดได้โดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น มาลาไทออน

4. เพลี้ยหอย (scale insect) มีรูปร่างคล้ายหัวเข็มหมุดสีน้ำตาล แข็งเหมือนเปลือกหอย กำจัดได้โดยการแคะออกด้วยไม้จิ้มฟัน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากให้ใช้มาลาไทออนหรือนิโคตินซัลเฟต

5. ไรแดง (red spider mites) เป็นแมลงที่พบมากในที่แห้งแล้งและมีอากาศร้อน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลแห้ง มีผลทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต กำจัดได้โดยการใช้ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึมและให้ฉีดน้ำซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 10 วัน

6. เพลี้ยอ่อน (wooly aphids) มีลักษณะคล้ายถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีผลต่อต้นแคคตัสคล้ายเพลี้ยอ่อน แมลงชนิดนี้มักทำลายส่วนเนื้อ่อนและโคนหนาม กำจัดได้โดยใช้แปรงเล็กๆ จุ่มเมทิลแอลกอฮอล์ (methylated spirit) ปัดพวกกลุ่มก้อนเล็กๆ ที่ปกคลุมอยู่ออกก่อนแล้วจึงใช้ยาประเภทดูดซึมในบริเวณที่พบอาหารมาก

7. เพลี้ยไฟ (thrips) มีผลทำให้เกิดจุดสีขาวและสีเหลืองบนใบ แก้ไขได้โดยใช้การฉีดพ่นด้วยสารนิโคตินซัลเฟต

8. ไส้เดือนฝอย (nematodes) เป็นศัตรูพืชสำคัญในโรงเรือนทำลายแคคตัสโดยการทำให้เกิดปมที่ราก ซึ่งมีผลต่อการดูดน้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ ได้โดยทางดินปลูก

9. หอยทากและทากดิน (snall & slugs) เป็นศัตรูพืชที่ก่อปัญหามากเช่นกัน แก้ไขได้โดยการโรยสารเมทัลดีไฮด์ (metaldehyde) ซึ่งเป็นแก๊สพิษที่ใช้กำจัดเชื้อราและแบคทีเรียให้เป็นเหยือล่อบนผิวดินก่อนนำไปกำจัด จากนั้นจึงรดน้ำตาม