เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

กลุ่ม Echinocereus

Echinocereus fendleri

กลุ่ม Echinocereus มีลักษณะต้นเป็นรูปทรงกระบอก มักออกเป็นกอ เป็นแคคตัสที่ให้ดอกใหญ่ราว 5-7 เซนติเมตร ดอกมีสีสวย กลีบดอกสวย มักออกดอกในฤดูร้อน ดอกบานได้ประมาณ 2 วัน สีดอกมีทั้งสีชมพูเหลือบเหลือง เช่น สายพันธุ์ Echinocereus fendleri , Echinocereus fitchii, Echinocereus engelmannii เป็นต้น และสีแดงส้มเหลือบเหลือง เช่นสายพันธุ์ Echinocereus triglochidiatus var. pavcispinus เป็นต้น

สกุล Melocactus

Melocactus

สกุล Melocactus แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 60 ชนิด ชื่อสกุล Melocactus มาจากภาษากรีกว่า Melos (Melon) หมายถึงรูปทรงของต้นที่เป็นทรงกลมแป้นหรือทรงกระบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรืขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่จนถึงระยะผลิดอกออกผลจะเกิดปุยนุ่มที่เรียกว่า cephalium ที่บริเวณยอดของต้น ซึ่งดอกและผลก็จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ด้วยเช่นกัน

แคคตัสในสกุลนี้มีลำต้นสูงประมาณ 15-100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เป็นสันประมาณ 9-20 สัน มีตุ่มหนามรูปไข่ขนาด 2.5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีลักษณะโค้งงอ แนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 8-15 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.25-7.5 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางยื่นตรงออกมาจากลำต้น มีอยู่ประมาณ 1-5 อัน และยาว 2-9 เซนติเมตร ทั้งหนามกลางและหนามข้างแข็งแรงมาก ยกเว้นชนิดที่มีหนามสั้น ซึ่งหนามมักอ่อนและละเอียด สีหนามมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว สีน้ำตาลออกแดงๆ และดำ บริเวณ cephalium มีขนาดยาวประมาณ 1.25-3.75 เซนติเมตร โดยความยาวของดอกซ่อนอยู่ใน cephalium ผลมีลักษณะยาวเป็นทรงไม้พลอง ยาวมากกว่า 2.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีชมพูถึงสีแดงแจ่มจ้า บางครั้งผลก็จะจมอยู่ใน cephalium ไม่ปรากฏออกมาให้เห็น

แคคตัสในสกุล Melocactus พบมากที่สุดในบริเวณตอนใต้ของหมู่เกาะเวส์อินดีส ทางตอนใต้ของเม็กซิโก อเมริกา และบราซิล ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ และหลายสภาพแวดล้อม จะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ต้นถึงจะสร้าง cephalium แต่ถ้าชนิดที่ต้นมีขนาดเล็กอาจจะใช้เวลามากกว่านั้น ในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการน้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในฤดูหนาว

สกุล Sulcorebutia

Sulcorebutia

สกุล Sulcorebutia แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Sulcorebutia มาจากภาษาละตินว่า sulcus ซึ่งหมายถึง ร่องหรือรอบ แคคตัสในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายกับสกุล Rebutia ต่างกันตรงที่ตุ่มหนามจะแคบและยาวกว่า มักจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นมีลักษณะทรงกลม เป็นสันชัดเจน มีหลายสี เช่น สีเขียว สีออกแดง หรือสีเทาอมกำ หนามมมีลักษณะเป็นรูปหวี ไม่มีหนามกลาง

ดอกมีลักษณะคล้ายกับสกุล Rebutia เกิดที่บริเวณโคนต้น กลีบดอกมีผิวมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ในบางชนิดกลีบดอกอาจจะมี 2 สี ปกกัน ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน ผิวเรียบหรือมีเกล็ดปกคลุมเล็กน้อย

แคคตัสในสกุล Sulcorebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ในโบลิเวีย พบมากตามภูเขาสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีแร่ธาตุ อุดมสมบูรณ์ ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี

กลุ่ม Astrophytum

Astrophytum myriostigma หนึ่งในสายพันธุ์ Astrophytum

Astrophytum myriostigma หนึ่งในสายพันธุ์ Astrophytum

กลุ่ม Astrophytum แคคตัสกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกรูปหมวกพระบิชอพ ลำต้นกว้าง เป็นเหลี่ยมหรือมีพูลึก มีจุดประสีขาวทั้งต้น มีหลายสายพันธ์ุ เช่น Astrophytum myriostigma , Astrophytum ornatum , Astrophytum capricorne เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

หลังจากเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เริ่มลงมือเพาะได้เลย ก่อนอื่นควรที่จะเตรียมนำสำลีมาวางไว้ที่ก้นของภาชนะเพาะ ปิดรูที่ก้นภาชนะให้สนิท แต่ต้องไม่อัดแน่นจนเกินไป จากนั้นดึงเศษสำลีลงให้ทั่วๆ รูแผ่ให้ทั่วแล้วกดลงไปเบาๆ เสร็จแล้วโรยทรายลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ปิดกั้นกระถางและชิ้นสำลีไว้ ซึ่งทรายที่นำมาใช้ เป็นที่ทรายชนิดละเอียดก็ได้ เทวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ลงภาชนะแต่ละใบ แต่ไม่ควรเทจนถึงขอบให้เหลือระยะจากขอบบนลงมาประมาณ 1/3 นิ้ว ใช้มือตบเบาๆ ให้วัสดุเพาะได้ระดับเสมอกัน ถ้าวัสดุเพาะตามขอบยวบลงไปให้โรยเติมลงไปอีกเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดกลิ้งไปอยู่ใกล้ขอบภาชนะ

เนื่องจากเมล็ดแคคตัสมีหลายชนิด เมล็ดแต่ละขนาดต้องการการดูแลและวิธีเพาะที่แตกต่างกันไป ดังนั้น เราจึงต้องแบ่งวิธีการนำเมล็ดลงดินโดยแบ่งได้เป็น 4 วิธี ได้แก่

1. เมล็ดขนาดเล็กมาก ควรเริ่มจากการโปยทรายหยาบลงไปก่อน โดยโรยบนวัสดุเพาะบางๆ และให้สม่ำเสมอ จากนั้นจึงโรยเมล็ดตามลงไปให้เบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมล็ดเหล่านี้จะตกลงไประหว่างเมล็ดทราย นำภาชนะเพาะไปวางบนถาดหรือจานที่บรรจุและปล่อยให้ดูดน้ำจนเปียก เพื่อให้แน่ใจว่าเมล็ดจะตกลงไปในระหว่างเมล็ดทราย ให้ใช้น้ำฉีดพ่นไล่ส่วนที่ค้างอยู่ด้านบนให้ลงไปอยู่ในส่วนที่มีทรายรองรับ และงอกได้ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีขึ้นไป จากนั้นจึงยกไปวางไปถาดหรือจานอีกใบหนึ่ง

2. เมล็ดขนาดกลาง เริ้มจากการวางเมล็ดให้ทั่ววัสดุเพาะที่ผสมไว้ วางภาชนะเพาะลงในถาดหรือจานบรรจุน้ำ ปล่อยให้ดูดน้ำจนเปียกทั่ว จะทำให้มองเห็นเมล็ดและเมล็ดจะไม่กลิ้งไปมาเนื่องจากอยู่บนวัสดุที่เปียก จากนั้นโปรยทรายหยาบให้ทั่วจนมองไม่เห็นเมล็ด แต่อย่าโปรยจนหนา เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงยกไปวางในถาดหรือจานอีกใบหนึ่ง

สำหรับในบทความต่อไปจะมาต่อในอีก 2 ขั้นตอนการเพาะเมล็ดขนาดใหญ่ และการขั้นตอนการเพาะเมล็ดผสมกันหลายขนาด